สุนทรภู่


พระสุนทรโวหาร 
วันของกวีเอกไทย 26 มิถุนายน 2562 เผย ประวัติสุทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร รวมบทกลอน นิราศ วรรณคดี ผลงานอันลือเลื่อง อาทิ นิราศภูเขาทอง, นิราศเมืองแกลง, พระอภัยมณี, สุภาษิตสอนหญิง, ขุนช้างขุนแผน, กาพย์พระไชยสุริยา ฯลฯ จนถูกยกย่องให้เป็นบุคคลประวัติศาสตร์โลกด้านงานวรรณกรรม

ประวัติสุนทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329  ในสมัยสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จ.ระยอง มารดาเป็นคนต่างเมือง เมื่ออายุได้ 2 ขวบ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนหนังสือกับพระในสำนักชีปะขาว (ต่อมาคือวัดศรีสุดาราม แห่งคลองบางกอกน้อย) ต่อมาเมื่อเติบใหญ่เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน ตลอดเวลามีนิสัยชอบแต่งบทกลอน นิทาน วรรณคดี โดยพบหลักฐานอย่าง วรรณกรรมพระอภัยมณี ที่ถูกเก็บซ่อนไว้ใต้หลังคากุฎิกุฎิวัดเทพธิดารามเมื่อครั้งบวชจำพรรษาอยู่ที่นั่น
เหตุการณ์สำคัญในประวัติสุทรภู่ เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2359 ช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ได้เป็นขุนสุนทรโวหาร และแสดงผลงานด้านบทกลอนได้ดีจนเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และถือเป็นคนข้างกายที่ปรึกษา และรับใช้ใกล้ชิด โดยเฉพาะการแต่งกลอนแก้บทละครเรื่องรามเกียรติ์ได้อย่างไม่ติดขัดจนได้รับคำชมอย่างสูง
และแม้จะตกระกำลำบากถึงขั้นต้องลอยเรืออยู่และแต่งหนังสือขายเลี้ยงชีวิต และออกบวชในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่จากการได้รับพระอุปถัมภ์ จากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2394 สมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระสุนทรโวหาร” ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวัง และรับราชการยาวนาน 4 ปี และถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี
Poo-2.jpg

No comments:

Post a Comment