ลักษณะคำไทยแท้


คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย  มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร และมีหลักในการสังเกตที่ตายตัวทำให้เราสามารถแยกแยะวิเคราะห์ได้ว่าคำไทยแท้นั้นมีลักษณะอย่างไร 
มีหลักการสังเกตดังนี้
๑. คำไทยแท้มีพยางค์เดียว
คำไทยแท้มักคำพยางค์มีพยางค์เดียว  และมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง  เมื่อฟังแล้วสามารถเข้าใจได้ทันที   เช่น
               คำใช้เรียกเครือญาติ    พ่อ    แม่   พี่   น้อง   ป้า   อา   ลุง   ฯลฯ
คำใช้เรียกชื่อสัตว์       ช้าง   ม้า    วัว    ควาย   หมู  กา   ไก่   นก   ฯลฯ
คำใช้เรียกธรรมชาติ    ดิน   น้ำ   ลม   ไฟ   อุ่น   เย็น   ร้อน   ฯลฯ
คำใช้เรียกเครื่องใช้     มีด    ตู้   ครก   ไห   ช้อน  ฯลฯ                       
ทั้งนี้   มีคำไทยแท้บางคำที่มีหลายพยางค์
มีสาเหตุ  ดังนี้
๑ )  การกร่อนเสียง   คือ  การที่คำเดิมเป็นคำประสม ๒ พยางค์เรียงกันเมื่อพูดเร็ว ๆ ทำให้
พยางค์แรก  มีการกร่อนเสียงลงไป   เช่น  หมาก   เป็น   มะ   ตัว   เป็น ตะ   เป็นต้น
ทำให้กลายเป็นคำ   พยางค์  เช่น
                              หมากขาม          เป็น    มะขาม                ตัวขาบ       เป็น     ตะขาบ
หมากม่วง          เป็น    มะม่วง                 ตาวัน         เป็น     ตะวัน
สาวใภ้               เป็น    สะใภ้                    อันไร         เป็น      อะไร
ฉันนั้น               เป็น    ฉะนั้น
๒ ) การแทรกเสียง  คือ  การเติมพยางค์ลงไประหว่างคำ   ๒ พยางค์  ทำให้เกิดเป็นคำ
หลายพยางค์  เช่น
ลูกตา    เป็น    ลูกกะตา                  ลูกท้อน    เป็น     ลูกกระท้อน
นกจอก   เป็น    นกกระจอก            นกจิบ       เป็น     นกกระจิบ
ผักถิน     เป็น    ผักกระถิน             ผักเฉด      เป็น     ผักกระเฉด
๓ ) การเติมพยางค์หน้า  คือ การเติมพยางค์ลงไปหน้าคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์
แล้วทำให้เกิดเป็นคำหลายพยางค์  เช่น
โจน              เป็น     กระโจน                        ทำ            เป็น    กระทำ
เดี๋ยว            เป็น     ประเดี๋ยว                      ท้วง          เป็น     ประท้วง
จุ๋มจิ๋ม           เป็น      กระจุ๋มกระจิ๋ม            ดุกดิก       เป็น    กระดุกกระดิก

No comments:

Post a Comment